ประเด็นท้าทาย
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น
ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนบ้านนา"นายกพิทยากร"
1.สภาพปัญหา
จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่ผ่านมา เห็นได้ว่า นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์น้อยมาก โดยเฉพาะเรื่อง ความน่าจะเป็น ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงอยากสนใจการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เพราะนอกจากผู้สอนจะสอนในห้องเรียนแล้ว นักเรียนยังได้ศึกษาด้วยตนเอง ได้ทำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยตนเอง จะทำให้นักเรียนเกิดการไม่เบื่อที่จะเรียนวิชาคณิตศาสตร์อีกต่อไป ซึ่งการใช้แบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้นจะเป็นวิธีการสอนอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียน และนอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพต่อไป
2. วิธีดำเนินการให้บรรลุผล
ในการพัฒนาพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวิธีการดำเนินการให้บรรลุผล ดังนี้
2.1 ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สาระเทคโนโลยีและหลักสูตรสถานศึกษา
2.2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นเพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนที่ขาดทักษะทางคณิตศาสตร์
2.3 ออกแบบพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะ
เป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนที่ขาดทักษะทางคณิตศาสตร์
2.4 สร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ลงสู่การจัดกิจกรรมในห้องเรียน
2.5 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 มีขั้นตอนดังนี้
1) ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น ไปทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง และบันทึกผลการทดสอบไว้เป็นคะแนนก่อนเรียนสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล
2) ดำเนินการพัฒนา โดยให้นักเรียนทำการทดสอบก่อนเรียน ทดลองใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 ทำแบบฝึกในแต่ละเล่ม เพื่อเก็บคะแนนระหว่างเรียนและทำการทดสอบ
หลังเรียน
3) หลังสิ้นสุดการพัฒนาแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับเดิม และแจกแบบสอบถามความพึงพอใจให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 แล้วเก็บรวบรวมคะแนนเพื่อคิดคำนวณหาค่าทางสถิติต่อไป
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
เชิงปริมาณ
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 ร้อยละ 65 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายหลังได้รับ
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียน
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 ร้อยละ 65 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 65 ของคะแนนเต็ม)
3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 ร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เชิงคุณภาพ
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 มีทักษะทางคณิตศาสตร์ สูงขึ้น
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็นสูงขึ้น
3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
ตัวอย่างแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ตัวอย่างแบบฝึกหัด เรื่องความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ตัวอย่างแบบทดสอบ เรื่องความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
รายงานวิจัยในชั้นเรียน